.....ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวสรารัตน์ เมฆวัน (สาวจืด) 544110238 คบ.2 สังคมศึกษา หมู่ 3 .....

บทที่ 3



หน่วยการเรียนที่ 3
 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

การสื่อสารกับการเรียนการสอน
       ในระบบการเรียนการสอน หากพิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมีลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลายประการ ทั้งทางด้านองค์ประกอบและกระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารโดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง แลประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นวัดได้ โดยคุณภาพและปริมาณของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียน


ระบบการสื่อสาร (
Communication System)
       การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักร มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน การสื่อสารเป็นขบวนการวัฏจักรโครงสร้างของระบบประกอบด้วย

        1.
ทรัพยากร    (In put) 
        2.
ขบวนการ    (Process) 
        3.
ผลที่ได้รับ ( Out put)  
        4.
ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
            พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ.ร.บ.การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอนขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน


การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
       1. การเรียนรู้ (
Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
       2. การสอน (
Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน
              1. สื่อ (
Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ(Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบหรือหลายลักษณะ (Format) แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตรเทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ (Material s ) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ(Audio visual Material s ) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
              2. สาร (
Messages) ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร   ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            3. วิธีสอน วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms) เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ   การสื่อสารการสอนการสอน เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (Information) เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง

องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง (Sender)          
2. ผู้รับ (Receiver)
3. สาร (Message)
4. สื่อกลาง (Medium)


1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นแหล่งที่มาของสาร และเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรการสื่อสารในกรณีของสิ่งมีชีวิต ผู้ส่งจะนำเอาความสามารถในการตอบสนองเข้ามาบรรจุไว้ในที่สะสมสารซึ่งได้มีการวางสายของการติดต่อสื่อสารไว้แล้วเรียกขั้นนี้ว่าการเข้ารหัส (Encoder) สารที่ผู้ส่งรวบรวมและส่งออกไปนั้นเป็นผลผลิตของสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ส่งกำลังประสบอยู่ในเวลาและสภาพแวดล้อมขณะนั้น และผู้รับก็จะสามารถรับไว้ได้เฉพาะข้อมูลบางชนิดที่ตนมีส่วนสัมพันธ์ผูกพันเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น ส่วนข้อมูลอื่น ๆที่ไม่เกี่ยวข้องผูกพันด้วยมนุษย์ก็จะไม่รับไว้กล่าวคือมนุษย์เพศชายกับเพศหญิง อาจจะมีการรับข้อมูลต่างชนิดกัน หรือบางข้อมูลก็เหมือนกันฉะนั้น ข้อมูลทั้งหลายจึงมีสะสมในตัวมนุษย์แต่ละคน และไม่มีการสะสมในลักษณะนี้ในสิ่งอื่น ๆ ดังนั้น เวลาที่มนุษย์กำหนดจะส่งข้อมูลใด ๆ ออกไปก็เท่ากับมนุษย์ได้ส่งข้อมูลจากแหล่งสะสมภายในตัวของมนุษย์ออกไปยังผู้รับภายนอก
วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546 หน้า 13
สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกลอัตโนมัติจะมีพฤติกรรมในการสื่อสารแตกต่างกันออกไป คือเครื่องมือเหล่านี้ไม่มีการเจริญเติบโต และไม่สามารถสะสมเพิ่มเติมหรือขยายอำนาจการสะสมเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ ออกไปนอกเหนือจากที่ถูกกำหนดให้มีไว้แล้วตั้งแต่เริ่มแรกได้ ฉะนั้นลำดับและขอบเขตของพฤติกรรมนี้จะจำกัด และขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ครั้งแรกในการสร้างเครื่องมือนั้นขึ้นมา


2. ผู้รับ (Receiver) เป็นฝ่ายแปลความในสารที่ได้รับมา และการพิจารณาตัดสินใจของผู้รับก็จะเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี โดยที่การตัดสินใจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งอันเนื่องจากสารนั้นจะต้องเป็นที่ยอมรับและเข้าใจเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ส่ง ด้วยเหตุดังกล่าว อาจจะสรุปหลักการสำคัญของการสื่อสารได้ คือ ผู้ส่งจะส่งสารไปยังผู้รับ ฉะนั้นผู้รับจะต้องมีความรู้และเข้าใจในสิ่งที่ผู้ส่งส่งมาและแปลความหมายในสารนั้นแล้วตอบกลับไปยังผู้ส่งเช่นนี้เรื่อยไป


3. สาร (Message) คือเนื้อหาหรือข้อมูลที่ถูกส่งซึ่งการตีความหมายของสารจะอยู่ที่ตัวผู้รับไม่ได้อยู่ที่ตัวสารเอง เพื่อที่จะให้ผู้รับแสดงพฤติกรรมตามที่ผู้ส่งต้องการ ผู้ส่งจะต้องเข้ารหัสข้อมูลที่ต้องส่งนั้นก่อน การเข้ารหัสเป็นวิธีการเลือกและเรียงลำดับของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีความหมาย และเป็นที่เข้าใจต่อทั้งผู้ส่งและ ผู้รับเช่น ผู้โฆษณาสินค้าต้องการโฆษณาสินค้าแก่ลูกค้าว่ายาสีฟันของเขาเมื่อใช้แล้วจะรู้สึกเย็นสดชื่น ปัญหาก็คือผู้โฆษณาจะใช้รหัสชนิดใดจึงจะดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ ในทำนองเดียวกันกับการเรียนการสอนถ้าครูต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจในสารหรือเนื้อหา ครูจะต้องเข้ารหัสสารนั้นอย่างรัดกุมที่สุด คือครูจะต้องเลือกใช้คำพูดหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ง่ายที่สุดสำหรับครูและผู้เรียน การเข้ารหัสข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเป็นงานยากอย่างหนึ่งที่ครูจะต้องเผชิญและการเลือกรหัสก็เป็นกุญแจสำคัญที่สุดของการ สื่อสารสำหรับข้อมูลที่ผู้ส่งออกไปจะได้รับความสนใจจากผู้รับปลายทางหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งของการส่งข้อมูลและการส่งข้อมูลจำนวนจำกัดซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่าจะได้ผลดีกว่าการส่งข้อมูลจำนวนมาก ๆ แต่น้อยครั้ง ดังนั้นในการเรียนการสอนครูอาจจะเน้นหรือซ้ำเนื้อหา ในการสอนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการบรรยายซ้ำ ๆ การกระทำเช่นนี้จะสามารถเพิ่มโอกาส ให้เกิดความสนใจได้ แต่จะซ้ำครั้งมากน้อยเท่าใด จึงจะมีประสิทธิภาพนั้นย่อมแล้วแต่ และอยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอนหรือผู้ติดต่อสื่อสารเอง


4. สื่อกลาง (Medium) เป็นช่องทางหรือขอบข่ายของช่องทางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งกับผู้รับเช่นเดียวกันกับที่สินค้าอาจจะถึงปลายทางได้โดยสื่อกลางของการขนส่งนานาชนิด สารก็เช่นกันอาจจะผ่านถึงยังผู้รับได้โดยอาศัยสื่อชนิดต่าง ๆหากแต่ว่าสื่อกลางในการสื่อสารต่างจากสื่อการคมนาคมที่ว่า สื่อกลางการสื่อสารนี้จะจัดรูปของสาร ให้มีลักษณะเป็นไปตามลักษณะของสื่อกลางนั่นเอง ตัวอย่างเช่น หนังสือและภาพยนตร์ ข้อมูลที่แพร่มาสู่เราโดยตัวหนังสือ
และโดยทางภาพเคลื่อนไหวของภาพยนตร์นั้นมีความต่างกันหากผู้รับต้องตัดสินใจว่าจะอ่านหนังสือก่อนแล้วดูภาพยนตร์ทีหลัง หรือจะดูหน้า 14 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มิถุนายน -ตุลาคม 2546


2. กระบวนการสื่อสาร (
Communication Process)
          กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (
Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
          ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (
Verbal ism)ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้
ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย

2. การทดสอบก่อนการเรียน  (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
3.
ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
4.
การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
                4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
 4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอ


การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน

      ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
               สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น