.....ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวสรารัตน์ เมฆวัน (สาวจืด) 544110238 คบ.2 สังคมศึกษา หมู่ 3 .....

บทที่ 6



หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง นวัตกรรมการเรียนการสอน

  • การสอนแบบโมดุล (Module Teaching) 
  • การสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching) 
  • การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์(Group Process Teaching) 
  • การสอนซ่อมเสริม (Remidial Teaching) 
  • การสอนโดยเพื่อน สอนเพื่อน (Peers Teaching) 
  • การสอนแบบพี่สอนน้อง(Monitoring) 
  • การปรับ พฤติกรรม (Behavioral Modification) 
  • การสอนเป็นรายบุคคล(Individualized Instruction)
  •  การเรียนแบบรู้รอบ(Mastery Learning)  
  • การเรียนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
  • การสอนแบบบูรณาการ(Integrative Techniques)
  •  การสอน แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
  • การสอนแบบโครงการ อาร์ ไอ ที(Reduced Instructional Time) 
  • การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน (Instructional Package) 
  • การสร้างบทเรียนให้เรียนด้วยตนเอง (Personalized System Instruction)
  •  การสอนโดยให้ทางบ้านดูแลการฝึกปฏิบัติ (Home Training) 
  • ชุดการสอนย่อย (Minicourse

การจัดการเรียนโดยใช้บทเรียนโมดูล (Induction Module )
 ความหมาย
                การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างบทเรียนเป็นหน่วยที่มีเนื้อหาหรือกลุ่มประสบการณ์จบในตัวเอง  สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แน่นอนและชัดเจนโมดูลหนึ่งๆ จะประกอบด้วยแนวคิด วัตถุประสงค์  กิจกรรมการเรียน  สื่อและการประเมินผล ตามปกติมักนิยมจัดไว้ในลักษณะเป็นแฟ้มห่วงชนิดปกแข็งบรรจุเอกสารพิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดีหรือรวบรวมเป็นชุดเอกสาร  เป็นหนังสือ เป็นต้น

วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
          เป็นวิธีสอนที่ยึดหลักการย่อส่วนทั้งขนาดของชั้นเรียน ระยะเวลาที่สอนและชนิดของทักษะ วิธีสอนแบบจุลภาคใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที  ในการฝึกทักษะแต่ละชนิด เมื่อสอนเสร็จมีการวิเคราะห์และประเมินผลการสอนจากภาพและเสียงบันทึกไว้ใน Video Tape และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาการสอน  การสอนแบบจุลภาคจึงเป็นการฝึกทักษะการสอนในสถานการณ์ย่อส่วนจากสถานการณ์จริงๆ เพื่อง่ายแก่การฝึกภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้ฝึกได้มีโอกาสตรวจสอบและปรังปรุงการสอนของตน

การสอนโดยเพื่อนช่วยสอน ( Peer Tutoring)
 ความหมาย
      การสอนโดยเพื่อนช่วยสอน หมายถึง วิธีการสอนที่ให้เพื่อนักเรียนช่วยสอนให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ แบบตัวต่อตัวหรือ 1 :1 โดยเพื่อนช่วยสอนอาจเป็นนักเรียนชั้นสูงกว่าหรือนักเรียนขั้นเดียวกัน อายุเท่ากัน แต่มีความสามารถสูงกว่ามาช่วยสอน

การเรียนการสอนรายบุคคล  (Individualized Instruction)  
      การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญสำหรับมนุษย์ แต่ละคนจึงมีความสามารถ ความสนใจ ความพร้อมและความต้องการที่แตกต่างกัน ทำให้การเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ( เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต . 2528) ดังนั้นแนวคิดทางการศึกษาแผนใหม่จึงเน้นในเรื่องการจัดการศึกษา โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ((Individual Differences) เรียกการเรียนการสอนลักษณะนี้ว่า การจัดการเรียนการสอนรายบุคคล หรือการจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ ( แบบเอกัตบุคคล ) หรือการเรียนด้วยตนเอง (Individualized Instruction) โดยยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยมุ่งจัดสภาพการเรียนการสอนที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถ ความสนใจและความพร้อม

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
ความหมาย
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน  เป็นกระบวนการเรียนรู้จากชุดการสอน  เป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่งที่เป็นลักษณะของสื่อประสม ( Multi-media )เป็นการใช้สื่อตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปร่วมกันเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ต้องการ  โดยอาจจัดขึ้นสำหรับหน่วยการเรียนตามหัวข้อเนื้อหาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  อาจจัดเอาไว้เป็นชุด ๆ บรรจุในกล่อง ซองหรือกระเป๋า  ชุดการสอนแต่ละชุดประกอบด้วยเนื้อหาสาระ บัตรคำสั่ง / ใบงาน ในการทำกิจกรรม  วัสดุอุปกรณ์  เอกสาร / ใบความรู้  เครื่องมือหรือสื่อที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งแบบวัดประเมินผลการเรียนรู้

การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ความหมายของการสอนผ่านเว็บ
การสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) หมายถึง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บเบราเซอร์เป็นตัวจัดการ ดังนั้น จึงมีความแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนธรรมดาอยู่บ้างในส่วนของการใช้งาน ได้แก่ ส่วนของระบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interfacing System) ระบบการนำเสนอบทเรียน (Delivery System) ระบบการสืบท่องข้อมูล (Navigation System) และระบบการจัดการบทเรียน (Computer Managed System)


นวัตกรรมการเรียนการสอน
                   ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ   และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู –อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  นั้น  คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

เทคนิคการสอนแบบ CIPPA
การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:โมเดลซิปปา
                       ในปัจจุบันแนวการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทั้งในประเทศและในต่างประเทศ แนวความคิดในการจัดการศึกษานี้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยการกระทำ(Learning by Doing)ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมที่หลากหลาย  มีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของผู้เรียน
โมเดลซิปปา(CIPPA MODEL) เป็นการเรียนการสอนที่เป็นแนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางซิปปานี้พัฒนาขึ้นโดย  รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา  แขมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักการศึกษาผู้มีประสบการณ์สอนและการนิเทศการสอน ได้กล่าวว่า  แนวคิดในการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาไทยมีมานานแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลในการปฏิบัติที่เป็นน่าพอใจ ครูจำนวนมาก ขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดแนวทางที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยเหตุผลนี้  ทิศนา  แขมมณี จึงได้เสนอแนวคิดและแนวทางในการนำไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ (Center of attention) หรือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมาก ผู้เรียนก็จะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้มาก และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมา แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีส่วนเรียนร่วมอย่างผูกพัน ทิศนา  แขมมณี (2543) ได้เสนอไว้ดังนี้
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียน ได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย คือ กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยให้ประสาทรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัว พร้อมที่จะรับข้อมูลสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน


การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

  แนวคิด          การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้

ความหมาย          การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง

วัตถุประสงค์        การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง

ประเภทของโครงงาน
1. โครงงานแบบสำรวจ
2. โครงงานแบบทดลอง
3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานทฤษฎี

1.วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture)
ความหมาย        
          วิธีสอนโดยใช้การบรรยายคือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการพูด บอก เล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถาม แล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

วัตถุประสงค์     
            เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือข้อความรู้จำนวนมากพร้อมๆ กันได้ในเวลาที่จำกัด

2.วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration)
1. แนวคิด
          เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด ซึ่งเป็นการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ดูหรือผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำด้วยตนเอง ทำให้การเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับแนวคิดของกรวยประสบการณ์ที่ เอดก้า เดล ได้กล่าวไว้ดังนี้
2. ลักษณะสำคัญ
วิธีสอนแบบสาธิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้ ประสบการณ์ แนวทาง เช่น การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ค่อนข้างสมบูรณ์
3. วัตถุประสงค์
1. ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส
2. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น
3. ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้
4. เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้

 ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่     - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  
 มัลติมีเดีย (Multimedia) - การประชุมทางไกล (Teleconference) - ชุดการสอน (Instructional Module) -วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)  และดิฉันก็เชื่อว่าสถานที่การศึกษาหลายๆ  ที่นั้นได้นำนวัตกรรมที่ว่านี้มาใช้กันแล้ว  อย่างเช่นที่โดรงเรียนที่ดิฉันสอนอยู่ก็ได้นำ   มัลติมีเดีย (Multimedia)  มาใช้ในการสอนบางวิชา ซึ่งทำให้เด็กสนใจในการเรียนมากขึ้นและสนุกสนานกับการเรียน  ทำให้เขาได้เรียนรู้มีความสุขโดยไม่ต้องบังคับ
·         E-learning
·         Blog
·         wiki
·         E-mail
·         E-Book
·         WBI
·         CAI
·         web board
·         video Conference
·         Pod cast
·         Video on Demand


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น